เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์

มหาบุรุษนั้น ตรัสแต่คำเป็นที่ถูกใจ
จับใจ เสนาะโสต จึงทรงได้รับผลอันเกิดจากความประพฤติดี
เสวยผลบุญในสวรรค์ทั้งหลาย
ครั้นเสวยผลอันเกิดจากความประพฤติดีแล้ว
เสด็จมาในโลกนี้ ได้ความเป็นผู้มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม
เป็นผู้มีพระชิวหาใหญ่ หนา
เป็นผู้มีพระดำรัสอันชนทั้งหลายยอมรับ
ผลนั้นย่อมสำเร็จแก่มหาบุรุษผู้ตรัสอยู่
แม้เมื่อทรงเป็นคฤหัสถ์ ฉันใด
ถ้ามหาบุรุษนั้นทรงออกผนวช
หมู่ชนจะเชื่อถือพระดำรัสของพระองค์
ผู้ตรัสสุภาษิตหลากหลายแก่คนหมู่มาก ฉันนั้น”

30. ลักษณะพระหนุดุจคางราชสีห์1

[238] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ ละเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
ประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ฯลฯ จุติจากเทว-
โลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษนี้ คือ มีพระหนุดุจคางราชสีห์
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะไม่มีข้าศึกศัตรู
ที่เป็นมนุษย์คนใดกำจัดพระองค์ได้ เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ ฯลฯ
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะไม่มีข้าศึกศัตรูภายในหรือ

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 22

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :194 }